เมนู

ถ. การสมมติไม้เท้า มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด
ต. การสมมติไม้เท้า มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็น
ท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถ. การสมมติสาแหรก มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด
ต. การสมมติสาแหรก มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็น
ท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถ. การสมมติไม้เท้าและสาแหรก มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็น
ท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ต. การสมมติไม้เท้าและสาแหรก มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มี
ญัตติเป็นท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด.
ถามและตอบอุโบสถกรรมเป็นต้น จบ

อุโปสถาทิปุจฉาวิสัชนา วัณณนา


วินิจฉัยในคำแก้คำถาม

ทั้งหลายมีคำถามว่า อะไรเป็นเบื้องต้นของ
อุโบสถกรรม เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า สามคฺคี อาทิ มีความว่า กายสามัคคีของภิกษุทั้งหลาย
ผู้คิดว่า จักทำอุโบสถ แล้วชำระสีมา นำฉันทะและปาริสุทธิมา ประชุมกัน
เป็นเบื้องต้นของอุโบสถกรรม.

สองบทว่า กิริยา มชฺเฌ มีความว่า กิริยาที่กระทำบุพกิจสวด
ปาฏิโมกข์ เป็นท่ามกลางของอุโบสถกรรม.
สองบทว่า นิฏฺฐานํ ปริโยสานํ มีความว่า ความจบปาฏิโมกข์
ดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหมดทีเดียว พึงเป็นผู้พร้อมเพรียง ชื่นชมยินดีด้วยดีอยู่
เป็นผู้ไม่วิวาทอยู่ ศึกษาในพระปาฏิโมกข์นั้น เป็นที่สุด (ของอุโบสถกรรม).
หลายบทว่า ปวารณากมฺมสฺส สามคฺคี อาทิ มีความว่า กาย-
สามัคดีของภิกษุทั้งหลายผู้คิดว่า จักทำปวารณา แล้วชำระสีมา นำฉันทะและ
ปวารณามา ประชุมกัน เป็นเบื้องต้นของปวารณากรรม.
สองบทว่า กิริยา มชฺเฌ มีความว่า ปวารณาญัตติและปวารณากถา
เป็นท่ามกลาง (ของปวารณากรรม).
คำของภิกษุผู้สังฆนวกะที่ว่า ข้าพเจ้าเห็นอยู่ จักทำคืน เป็นที่สุด
(ของปวารณากรรม).
ภิกษุย่อมเป็นผู้ควรแก่กรรม ด้วยวัตถุใด วัตถุนั้น ชื่อว่าวัตถุใน
กรรมทั้งหลาย มีตัชชนียกรรมเป็นต้น.
บุคคลที่ก่อวัตถุนั้น ชื่อว่าบุคคล.
สองบทว่า กมฺมวาจา ปริโยสานํ มีความว่า คำสุดท้ายแห่ง
กรรมวาจานั้น ๆ อย่างนี้ว่า ตัชชนียกรรม อันสงฆ์ทำแล้ว แก่ภิกษุชื่อนี้
ควรแก่สงฆ์ เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง, ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ เป็นที่สุด
ของกรรมทั้งหลาย มีตัชชนียกรรมเป็นต้น.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
พรรณนาอุโปสถาทิปุจฉาวิสัชนา จบ

อัตถวเสปกรณ์


อำนาจประโยชน์ 10 ประการ


[1,009] พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบท แก่พระสาวกทั้งหลาย
เพราะทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ 1
เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์ 1 เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก 1 เพื่ออยู่ผาสุกแห่งภิกษุ
ผู้มีศีลเป็นที่รัก 1 เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน 1 เพื่อกำจัด
อาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต 1 เพื่อความเลื่อมใสจากชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส 1
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว 1 เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระ-
สัทธรรม 1 เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย 1.
[1,010] สิ่งใดเป็นความรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเป็นความผาสุกแห่ง
สงฆ์ สิ่งใดเป็นความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเป็นไปเพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
สิ่งใดเป็นไปเพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก สิ่งนั้นเป็นไปเพื่ออยู่ผาสุกแห่งภิกษุผู้มีศีล
เป็นที่รัก สิ่งใดเป็นไปเพื่ออยู่ผาสุกแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก สิ่งนั้นเป็นไป
เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน สิ่งใดเป็นไปเพื่อป้องกันอาสวะอัน
จะบังเกิดในปัจจุบัน สิ่งนั้นเป็นไปเพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต
สิ่งใดเป็นไปเพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต สิ่งนั้นเป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส สิ่งใดเป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่
ยังไม่เลื่อมใส สิ่งนั้นเป็นไปเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว สิ่งใด
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนผู้ที่เลื่อมใสแล้ว สิ่งนั้นเป็นไปเพื่อความ